ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา
ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

บทความนี้อ้างอิงคริสต์ศักราช/คริสต์ทศวรรษ/คริสต์ศตวรรษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเนื้อหา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์ B.1.617.2 เป็นสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นสายพันธุ์ย่อยของ B.1.617 อีกทีหนึ่ง[1]พบครั้งแรกในอินเดียช่วงปลายปี 2020[2][3]และองค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อว่า เดลตา ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2021[4]ไวรัสมีการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสเป็นโปรตีนหนาม (spike protein) ที่เปลือกหุ้มไวรัส[5]การกลายพันธุ์เป็นการแทนที่กรดอะมิโนชนิด T478K, P681R และ L452R[6]ซึ่งอาจเพิ่มการติดต่อของโรค และอาจมีผลให้แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่กระตุ้นโดยวัคซีนหรือการติดโรคโควิด-19 มาก่อนสามารถกำจัดเชื้อได้ลดลงในเดือนพฤษภาคม 2021 สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษคือพีเอชอี (Public Health England, PHE) พบว่าอัตราการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[upper-alpha 1]ของเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึงร้อยละ 51-67[11]ต่อมาในเดือนมิถุนายนจึงรายงานเพิ่มว่าความเสี่ยงการเข้า รพ. ก็สูงขึ้นด้วย[12]วัคซีนโควิด-19 มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่อาการหนักจนถึงเข้า รพ. แม้จะมีหลักฐานบ้างว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสเกิดอาการจากเชื้อนี้มากกว่าสายพันธุ์โควิด-19 อื่น ๆ[13]ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 พีเอชอียกระดับสายพันธุ์นี้จากสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ (variant under investigation, VUI) ให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (variant of concern, VOC) เพราะประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายอย่างน้อยก็เท่ากับสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่เบื้องต้นพบในสหราชอาณาจักร[14]ต่อมากลุ่มผู้ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (SAGE) จึงประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายกว่าอัลฟาประมาณ 50%[15]วันที่ 11 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกจึงจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยระบุว่า มีหลักฐานว่าติดต่อได้ง่ายกว่าและภูมิต้านทาน (เนื่องกับวัคซีนและการติดโรค) ก็จัดการมันได้น้อยลงต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐก็ได้ยกระดับเดลตาว่าน่าเป็นห่วง[16]สายพันธุ์นี้เชื่อว่าเป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่สองในอินเดียเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[17][18][19]เป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในสหราชอาณาจักร[20][21]และในแอฟริกาใต้[22]ในเดือนกรกฎาคม 2021 องค์การอนามัยโลกจึงเตือนว่า อาจเกิดผลเช่นกันในยุโรปและในแอฟริกา[23][22]ในปลายเดือนกรกฎาคม จึงพบว่าสายพันธุ์ได้เพิ่มการติดเชื้อแต่ละวันในภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย[24]ในสหรัฐ[25]และในออสเตรเลีย[26]จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2021 มีประเทศ 124 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27] โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้ว ณ ตอนนี้ ก็เป็นไปได้[28][29]

ใกล้เคียง

ไวรัส ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ไวรัสอาร์เอสวี ไวรัสโคโรนา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสซิกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา http://www.theguardian.com/us-news/2021/jul/22/us-... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/02/we-ar... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/04/healt... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11742399 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17634159 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26132768 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28166851 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28757186 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30560777 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32044814